เมนู

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสุขสหคตธรรม ที่เกิดก่อน ๆ และสุขเป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสุขสหคตธรรม ที่เกิดหลัง ๆ และสุข ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย.

5. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย

9. อุปนิสสยปัจจัย


[699] 1. สุขสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่สุขสหคตธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
มี 3 วาระ.
4. ธรรมที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม แล้วให้ทานด้วยจิต
ที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม. ยังศีล ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.

บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ
ราคะ ความปรารถนา สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ ฯลฯ เสนา-
สนะ สุข แล้วให้ทานด้วยจิตที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม ฯลฯ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ
ทำลายสงฆ์.
ศรัทธาที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม ฯลฯ เสนาสนะ และสุข เป็นปัจจัย
แก่ศรัทธาที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม ฯลฯ แก่ปัญญา แก่ราคะ แก่โทสะ แก่
ความปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ
และแก่สุข ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
5. ธรรมที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่สุข-
สหคตธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม แล้วให้ทานด้วยจิต
ที่เป็นสุขสหคตธรรม ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ
ความปรารถนา สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะ สุข แล้วให้ทานด้วยจิตที่เป็น
สุขสหคตธรรม ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด ถือเอาของที่เขามิได้ให้ ด้วยจิตที่เป็น
สุขสหคตธรรม มุสาวาท ฯลฯ ปิสุณาวาท ฯลฯ สัมผัปปลาปวาท ฯลฯ ตัด
ช่องย่องเบา ฯลฯ ลอบขึ้นไปลักทรัพย์ ฯลฯ ปล้นบ้านหลังหนึ่ง ฯลฯ ปล้นตาม
ทาง ฯลฯ ทำผิดในภริยาผู้อื่น ฯลฯ ฆ่าคนในหมู่บ้าน ฯลฯ ฆ่าคนในนิคม ฯลฯ

ศรัทธาที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม ฯลฯ เสนาสนะและสุข เป็นปัจจัยแก่
ศรัทธาที่เป็นสุขสหคตธรรม ฯลฯ แก่ปัญญา แก่ราคะ แก่โมหะ แก่มานะ
แก่ทิฏฐิ แก่ความปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
6. ธรรมที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่สุข-
สหคตธรรม และธรรมที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม แล้วให้ทานด้วยจิต
ที่เป็นสุขสหคตธรรม มีอธิบายเหมือนข้อความตามบาลี ตอนที่ 2 ก่อมานะ
ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม ฯลฯ เสนาสนะ สุข แล้ว
ให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด ถือเอาของที่เขามิได้ให้ด้วยจิตที่เป็นสุขสหคต-
ธรรม ฯลฯ
ศรัทธาที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม ฯลฯ เสนาสนะ และสุข เป็นปัจจัยแก่
ศรัทธาที่เป็นสุขสหคตธรรม ฯลฯ แก่ความปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่มรรค
แก่ผลสมาบัติ และแก่สุข ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
7. สุขสหคตธรรม และธรรมที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม
เป็นปัจจัยแก่สุขสหคตธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
มี 3 วาระ.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[700] 1. ธรรมที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ ด้วยจิตที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะ
ปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม และสุข
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
2. ธรรมที่ไม่ใช่สุขสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่สุข-
สหคตธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ ด้วยจิตที่เป็นสุขสหคตธรรม ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะ